โคลงชะลอพระพุทธไสยาสน์
ผู้แต่ง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
ความเป็นมา เป็นเรื่องเกี่ยวกับการยอพระเกียรติพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
ทรงแต่งพระราชนิพนธ์ ในขณะที่ทรงเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ท้ายสระ สาเหตุที่แต่งมีดังนี้
“กล่าวถึงการชลอพระพุทธไสยาสน์ที่วัดป่าโมกข์ ซึ่งก่อนที่จะได้มีการพระราชนิพนธ์ เรื่องนี้ พระ
อธิการวัดป่าโมกข์ได้เข้ามาหาพระราชสงครามแจ้งความว่า น้ำกัดเซาะตลิ่งพัง เข้ามาจวนถึงพระวิหารของ
พุทธไสยาสน์ พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระจึงทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชสงครามคิดทำการชลอพุทธ
ไสยาสน์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ซึ่งในขณะนั้นยังเป็นพระมหาอุปราชได้ทัดทานไว้ด้วยทรงคิดว่าจะ
ทำไม่สำเร็จ แต่พระราชสงครามก็สามารถทำได้สำเร็จ พระองค์จึงได้ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องนี้ไว้ เพื่อยก
พระเกียรติเป็นพื้นนับว่าเป็นที่น่าอัศจรรย์ เลื่องลือในบุญญาธิการพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระมาก”
เนื้อความกล่าวถึงเหตุการณ์ว่า น้ำได้กัดเซาะเขื่อนด้านตะวันออกเข้ามาจนเข้าพระวิหารพระพุทธ
ไสยาสน์ ซึ่งเป็นที่เคารพของประชาชน แม้ทางวัดจะจัดการแก้ไขไม่ได้ผล พระอธิการจึงร้องเรียนมายัง
พระมหากษัตริย์ จึงมีดำรัสสั่งให้พระราชสงครามจัดการชลอพระให้พ้นน้ำ รายละเอียดตามพระราช
พงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขากล่าวไว้
รูปแบบการแต่ง คำประพันธ์ในเรื่องเป็นโคลงสี่สุภาพ
คุณค่าของวรรณคดี
๑. ด้านภาษา การใช้คำเด่นชัด โคลงเรื่องนี้นับว่ามีสำนวนโวหารเชิงกวีดี เรื่องหนึ่ง เช่น
๒. ด้านอารมณ์ พระองค์ทรงใช้คำพรรณนาให้มองเห็นภาพพจน์ เช่น
ขอพรพระพุทธห้าม สมุทรไทย
ห้ามชลลัยไหล ขาดค้าง
ขอจงองค์ภูวไนย ทุกทวีไป
ห้ามหายมลายล้าง นอกเนื้อในขันธ์
เชือกใหญ่ใส่รอกร้อย เรียงกระสัน
กว้านช่อชลอผันขัน ยึดยื้อ
ลวดหนังรั้งพัลวัน พวนเพิ่ม
โห่โหมประโคมอึงอื้อ จากเจ้าประโคมไป
๓. ด้านศาสนา เกี่ยวกับการนับถือพระพุทธศาสนา เช่น
ขอพรพระพุทธรูปเรื้อง จอมตริย์
ขอจงภุดาธาร ทรงทวีป
อันผจญพลมารดาล พ่ายแพ้
เรืองฤทธิปลิดไปล่แปล้ ปราบท้าวทุกสถาน
เชือกใหญ่ใส่รอกร้อย เรียงกระสัน
กว้านช่อชลอผันขัน ยึดยื้อ
ลวดหนังรั้งพัลวัน พวนเพิ่ม
โห่โหมประโคมอึงอื้อ ลากเล้าประโคมไป